
ฟันคุดคืออะไร?
- คำจำกัดความของฟันคุด
ฟันคุดคือ ฟันแท้ซี่สุดท้าย (ฟันกรามซี่ที่สาม) ที่ขึ้นไม่พ้นเหงือก หรือ ขึ้นได้เพียงบางส่วน โดย มักจะขึ้นในช่วงอายุ 17-25 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ขากรรไกรมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ในหลายกรณี พื้นที่ในขากรรไกรไม่เพียงพอต่อการขึ้นของฟันซี่นี้ ทำให้ฟันคุดติดอยู่ใต้เหงือก เอียง หรือขึ้นในแนวที่ไม่ถูกต้อง
- ตำแหน่งที่พบฟันคุดบ่อย
ฟันคุดส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นที่ฟันกรามล่างทั้งสองข้าง เนื่องจากเป็นบริเวณที่ขากรรไกรมีพื้นที่จำกัดมากกว่าฟันกรามบน อย่างไรก็ตาม ฟันคุดก็สามารถเกิดขึ้นที่ฟันกรามบนได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยกว่า
ฟันคุดสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะการขึ้นและทิศทางของฟัน ซึ่งมีผลต่อความยากง่ายในการรักษาและการเกิดปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
- ประเภทของฟันคุด (ตามลักษณะการขึ้น)
- ฟันคุดในแนวดิ่ง Vertical Impaction – ฟันคุดอยู่ในแนวตั้งเหมือนฟันซี่อื่น ๆ แต่ไม่สามารถขึ้นพ้นเหงือกได้ทั้งหมด
- ฟันคุดในแนวเอียง Mesial Impaction – ฟันคุดเอียงไปทางด้านหน้าของช่องปาก (เอียงเข้าหาฟันกรามซี่ที่สอง) เป็นประเภทที่พบได้บ่อย
- ฟันคุดในแนวเอียงไปทางด้านหลัง Distal Impaction – ฟันคุดเอียงไปทางด้านหลังของช่องปาก
- ฟันคุดในแนวนอน Horizontal Impaction – ฟันคุดในแนวนอนโดยอาจจะวางตัวขนานกับแนวเหงือกหรือตั้งฉากกับฟันกรามซี่ที่สอง เป็นประเภทที่มักจะก่อให้เกิดปัญหามากที่สุด
- ฟันคุดในแนวคว่ำ Inverrted Impaction – ฟันคุดมีส่วนหัวชี้ลงด้านล่าง
- ฟันคุดขึ้นได้บางส่วน Partial Eruption – ฟันคุดโผล่พันเหงือกมาเพียงเล็กน้อย ทำให้เกิดช่องเปิดที่ยากกต่อการทำความสะอาดและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
สาเหตุของการเกิดฟันคุด
- พื้นที่ขากรรไกรไม่เพียงพอ – สาเหตุหลักที่พบบ่อยที่สุดคือ ขากรรไกรมีขนาดเล็กเกินไป ทำให้ไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับฟันกรามซี่ที่สามที่จะขึ้นมาในตำแหน่งที่ถูกต้อง เมื่อฟันพยายามจะขึ้น จึงถูกฟันซี่ข้างเคียงหรือกระดูกขากรรไกรขัดขวาง
- พันธุกรรม – ปัจจัยทางพันธุกรรมอาจมีบทบาทในการกำหนดขนาดของขากรรไกรและขนาดของฟัน หากพ่อแม่มีประวัติฟันคุด ลูกก็มีโอกาสที่จะมีฟันคุดมากขึ้น
- การเจริญเติบโตของฟัน – ในบางกรณี การเจริญเติบโตของฟันกรามซี่ที่สามอาจไม่เป็นไปตามปกติ เช่น ฟันอาจมีขนาดใหญ่เกินไป หรือขึ้นในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก
- ปัจจัยอื่นๆ – ปัจจัยอื่นที่อาจส่งผลต่อการเกิดฟันคุด เช่น การได้รับบาดเจ็บที่ขากรรไกรในวัยเด็ก หรือ การมีโรคบางชนิดที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูก
อาการของฟันคุด
- อาการปวดฟันและเหงือก – เป็นอาการที่พบได้บ่อยโดยอาจปวดบริเวณกรามด้านใน หรือ บริเวณที่ฟันคุดพยายามจะขึ้น อาการปวดอาจเป็นแบบปวดตุบ ๆ ปวดร้าว หรือ ปวดเมื่อสัมผัส
- เหงือกบวมและอักเสบ – เหงือกบริเวณฟันคุดอาจบวม แดง และอักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากฟันคุดขึ้นได้บางส่วน ทำให้เศษอาหารเข้าไปติดและทำความสะอาดยาก
- ฟันผุและปัญหาฟันอื่นๆ – ฟันคุดที่ขึ้นมาไม่สมบูรณ์ หรือ เอียง อาจทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันทำให้เศษอาหารเข้าไปติดได้ง่ายและยากต่อการทำความสะอาด ส่งผลให้ฟันซี่ข้างเคียงผุ หรือเกิดโรคเหงือกอักเสบได้ นอกจากนี้ฟันคุดที่ดันฟันซี่ข้างเคียงอาจทำให้ฟันซี่นั้นเคลื่อนที่หรือเสียหายได้
- อาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง – ในบางกรณี ฟันคุดอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ เช่น
- กลิ่นปาก – เนื่องจากการสะสมของแบคทีเรียและเศษอาหารบริเวณฟันคุด
- ปวดศีรษะ – อาการปวดจากฟันคุดอาจร้าวไปยังศีรษะได้
- ต่อมน้ำเหลืองบวม – ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคออาจบวมโตขึ้น เนื่องจากการอักเสบ
- การอ้าปากลำบาก – ในกรณีที่มีการอักเสบรุนแรงอาจทำให้ขากรรไกรแข็งและอ้าปากได้ไม่เต็มที่
- ซีสต์หรือเนื้องอก – แม้จะพบได้น้อยแต่ฟันคุดที่ฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรเป็นเวลานาน อาจกระตุ้นให้เกิดซีสต์หรือเนื้องอกรอบ ๆ ฟันได้
ผลกระทบของฟันคุด
ฟันคุดคือฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ตามปกติ มักเป็นฟันกรามซี่สุดท้าย หรือฟันซี่ที่สาม ที่อยู่ด้านในสุดของปาก เนื่องจากมีพื้นที่ไม่เพียงพอให้ฟันขึ้นมาได้เต็มที่ ฟันคุดที่ฝังอยู่สามารถส่งผลกระทบต่อฟันข้างเคียง เหงือก กระดูก และสุขภาพโดยรวมได้ดังนี้
- ผลกระทบต่อฟันข้างเคียง
- ฟันซ้อนเก – ฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมาอาจไปเบียดฟันข้างเคียง ทำให้ฟันซ้อนเก ไม่เป็นระเบียบหรือเคลื่อนทีไ่ด้
- ฟันผุ – ฟันคุดที่ขึ้นมาเพียงบางส่วน หรือ เอียง อาจทำให้เศษอาหารเข้าไปติดได้ง่าย ทำความสะอาดยากและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุทั้งที่ตัวฟันคุดเองและฟันข้างเคียง
- การละลายของรากฟันข้างเคียง – แรงดันจากฟันคุดที่พยายามขึ้นมา อาจทำให้รากฟันของฟันข้างเคียงถูกกดทับและละลายได้
- ผลกระทบต่อเหงือกและกระดูก
- เหงือกอักเสบ – (Pericoronitis) – เหงือกที่ปกคลุมฟันคุดที่ขึ้นมาเพียงบางส่วน อาจเกิดการอักเสบ บวม แดง และเจ็บปวดได้ง่าย เศษอาหารและแบคทีเรียสามารถเข้าไปสะสมใต้เหงือก ทำให้เกิดการติดเชื้อได้
- ถุงน้ำ – (Cyst) – ฟันคุดที่ฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร สามารถกระตุ้นให้เกิดถุงน้ำรอบ ๆ ฟันได้ ถุงน้ำนี้สามารถขยายใหญ่ขึ้น ทำลายกระดูกขากรรไกร ฟันข้างเคียง และเส้นประสาทได้
- การติดเชื้อ – บริเวณฟันคุดที่ขึ้นไม่เต็มที่ หรือ มีเหงือกอักเสบ อาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียลุกลามไปยังบริเวณอื่น ๆ ของช่องปากและลำคอได้
- การทำลายกระดูกขากรรไกร – ในกรณีที่รุนแรง ถุงน้ำหรือการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับฟันคุด สามารถทำลายกระดูกขากรรไกรได้
- ผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม
- อาการปวดศีรษะและใบหน้า – แรงดันจากฟันคุดอาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณกราม ใบหน้า หรือ ศีรษะได้
- ปัญหาในการอ้าปาก – การอักเสบและบวมบริเวณฟันคุด อาจทำให้การอ้าปากทำได้ยากลำบาก
- กลิ่นปาก – การสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรียบริเวณฟันคุดที่ทำความสะอาดยาก อาจทำให้เกิดกลิ่นปาก
- ผลกระทบต่อการจัดฟัน – ในบางกรณี ฟันคุดอาจส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ของการจัดฟัน ทำให้ฟันที่จัดไว้เคลื่อนที่ได้
การวินิจฉัยฟันคุด
การวินิจฉัยฟันคุดมีความสำคัญ เพื่อประเมินตำแหน่ง ทิศทาง และผลกระทบของฟันคุดที่มีต่อช่องปาก ทันตแพทย์จะใช้วิธีการต่างๆ ดังนี้
- การตรวจช่องปาก – ทันตแพทย์จะทำการตรวจดูช่องปากอย่างละเอียด เพื่อดูว่าฟันคุดขึ้นมาหรือไม่ มีอาการบวมแดงหรือการอักเสบของเหงือกบริเวณฟันกรามซี่สุดท้ายหรือไม่
- การเอกซเรย์ฟัน – เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการวินิจฉัยฟันคุด โดยจะมีการเอกซเรย์ 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
- Panoramic X-ray – เป็นการเอกซเรย์ภาพรวมของฟันทั้งหมด ขากรรไกร และโครงสร้างโดยรอบ ทำให้เห็นตำแหน่ง ทิศทาง และความสัมพันธ์ของฟันคุดกับฟันข้างเคียงและโครงสร้างอื่น ๆ ได้ชัดเจน
- Periapical X-ray – เป็นการเอกซเรย์เฉพาะบริเวณฟันซี่นั้น ๆ ให้รายละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับรากฟันและกระดูกรอบ ๆ
- Cone Beam CT Scan – ในบางกรณีที่ซับซ้อน ทันตแพทย์อาจพิจารณาใช้ CBCT ซึ่งเป็นการเอกซเรย์ 3 มิติ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับตำแหน่งและความสัมพันธ์ของฟันคุดกับเส้นประสาทและโครงสร้างสำคัญอื่น ๆ
- การประเมินโดยทันตแพทย์ – ทันตแพทย์จะนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจช่องปากและการเอกซเรย์มาประเมินร่วมกัน เพื่อวินิจฉัยว่ามีฟันคุดหรือไม่ ฟันคุดนั้นส่งผลกระทบต่อช่องปากอย่างไร และควรทำการรักษาหรือไม่ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อาการของผู้ป่วย ตำแหน่งของฟันคุด ความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาในอนาคต
วิธีป้องกันฟันคุด
โดยทั่วไปแล้ว ไม่สามารถป้องกันการเกิดฟันคุดได้โดยตรง เนื่องจากเป็นผลมาจากขนาดของขากรรไกรที่ไม่สัมพันธ์กับขนาดของฟัน อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีและการตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำสามารถช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับฟันคุดได้
- การตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ – การไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง ช่วยให้ทันตแพทย์สามารถตรวจพบฟันคุดได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะเกิดปัญหา หากพบว่ามีแนวโน้มที่ฟันคุดจะก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ถอนฟันคุดออกก่อน
- การดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี – การแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันทุกวัน และการใช้น้ำยาบ้วนปาก สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดฟันผุและเหงือกอักเสบ ซึ่งอาจทำให้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับฟันคุดรุนแรงขึ้นได้
- การรับประทานอาหารที่เหมาะสม – การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง สามารถช่วยลดความเสี่ยงของฟันผุและปัญหาในช่องปากอื่น ๆ ได้
วิธีการรักษาฟันคุด
เมื่อฟันคุดก่อให้เกิดปัญหา เช่น อาการปวด การอักเสบ หรือส่งผลกระทบต่อฟันซี่อื่น ๆ ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ทำการรักษา ซึ่งวิธีการหลักในการรักษาฟันคุดคือ การถอนฟันคุด
- การถอนฟันคุด – เป็นกระบวนการทางทันตกรรมที่ทันตแพทย์จะทำการนำฟันคุดที่ขึ้นไม่เต็มซี่ หรือ ขึ้นในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมออกไป เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การถอนฟันคุดสามารถทำได้ทั้งการถอนแบบธรรมดาและการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับลักษณะและการฝังตัวของฟันคุด
- ขั้นตอนการผ่าฟันคุด – การผ่าฟันคุดมักจะถูกเลือกใช้ในกรณีที่ฟันคุดฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร หรือ ขึ้นในลักษณะที่ซับซ้อน ซึ่งขั้นตอนโดยทั่วไปของการผ่าฟันคุดมีดังนี้
- การเตรียมตัว – ทันตแพทย์จะทำการตรวจช่องปาก ถ่ายภาพรังสี X-Ray เพื่อประเมินตำแหน่งและลักษณะของฟันคุด รวมถึงวางแผนการรักษาอย่างละเอียด ผู้ป่วยอาจต้องแจ้งประวัติทางการแพทย์และยาที่ใช้อยู่ให้ทันตแพทย์ทราบ
- การให้ยาชา – ทันตแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่บริเวณที่จะทำการผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดขณะทำการผ่าตัด บางกรณีอาจมีการให้ยานอนหลับร่วมด้วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความกังวลมาก
- การเปิดเหงือก – ทันตแพทย์จะทำการเปิดเหงือกเพื่อเผยให้เห็นฟันคุดและกระดูกที่ปกคลุมอยู่
- การกรอกระดูก – หากมีกระดูกปกคลุมฟันคุดอยู่ ทันตแพทย์อาจจำเป็นต้องกรอ กระดูกบางส่วนออกเพื่อให้สามารถเข้าถึงฟันคุดได้ง่ายขึ้น
- การแบ่งฟัน – ในกรณีที่ฟันคุดมีขนาดใหญ่หรือมีรากฟันที่ซับซ้อน ทันตแพทย์อาจทำการแบ่งฟันออกเป็นส่วนเล็ก ๆเพื่อให้ง่ายต่อการนำออกมา
- การนำฟันคุดออก – ทันตแพทย์จะค่อย ๆ เคลื่อนฟันคุดออกมาจากเบ้าฟันอย่างระมัดระวัง โดยใช้เครื่องมือทางทันตกรรมที่เหมาะสม
- การเย็บปิดแผล – หลังจากนำฟันคุดออกแล้ว ทันตแพทย์จะทำความสะอาดบริเวณแผลและเย็บปิดแผลด้วยไหมเย็บ ซึ่งไหมเย็บนี้อาจเป็นไหมที่ละลามได้เอง หรือต้องกลับมาให้ทันตแพทย์ตัดออกภายหลัง
- การทำความสะอาดและให้คำแนะนำ – ทันตแพทย์จะทำความสะอาดช่องปากและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเองหลังการผ่าตัด
- การดูแลหลังการผ่าฟันคุด – การดูแลตนเองอย่างเหมาะสมหลังการผ่าฟันคุดเป็นสิ่งสำคัญอย่างบิ่ง เพื่อช่วยลดอาการปวด บวมและป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งคำแนะนำโดยทั่วไปมีดังนี้
- กัดผ้าก๊อซ – กัดผ้าก๊อซที่ทันตแพทย์วางไว้ในปากให้แน่น ประมาณ 1-2 ชั่วโมงเพื่อช่วยห้ามเลือด
- ประคบเย็น – ประคบเย็นบริเวณแก้มภายนอกในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด เพื่อลดอาการบวม
- รับประทานอาหารอ่อน – รับประทานอาหารอ่อน ๆ ที่ไม่ต้องเคี้ยวมาก เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม หรือซุป ในช่วง 2-3 วันแรก
- หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง ร้อน หรือ เผ็ด –อาหารเหล่านี้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณแผล
- แปรงฟันอย่างระมัดระวัง – แปรงฟันตามปกติ แต่หลีกเลี่ยงบริเวณแผลผ่าตัด
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ – สิ่งเหล่านี้อาจทำให้แผลหายช้าลงและเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- พักผ่อนให้เพียงพอ – การพักผ่อนจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
- รับประทานยาตามที่ทันตแพย์สั่ง – หากทันตแพทย์สั่งยาแก้ปวดหรือยาปฏิชีวนะ ควรรับประทานตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
- ไปพบทันตแพทย์ตามนัด – เพื่อติดตามผลการรักษาและตัดไหม
- การใช้ยาและการบรรเทาอาการ – หลังการผ่าฟันคุด ผู้ป่วยอาจมีอาการปวด บวม รู้สึกไม่สบายตัว ทันตแพทย์อาจสั่งยาเพื่อบรรเทาอาการเหล่านี้ เช่น
- ยาแก้ปวด – ยาพาราเซตามอล หรือ ไอบูโพรเฟน เพื่อลดอาการปวด
- ยาปฏิชีวนะ – บางกรณี ทันตแพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูง
- น้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อ – เพื่อช่วยลดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก
นอกจากยาที่ทันตแพทย์สั่ง ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยตนเอง เช่น การประคบเย็น การทานอาหารอ่อน และ การพักผ่อนให้เพียงพอ หากอาการปวดหรือบวมไม่ดีขึ้น หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ควรรีบติดต่อทันตแพทย์
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
แม้ว่าการผ่าฟันคุดจะเป็นหัตถการที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้บ้าง ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยมีดังนี้
- การติดเชื้อ – เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุด โดยอาจเกิดจากการดูแลแผลที่ไม่ดีพอ หรือ มีเชื้อแบคทีเรียในช่องปากมากเกินไป อาการของการติดเชื้อ ได้แก่ อาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวณแผลมีหนอง มีไข้ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์
- ความเสียหายต่อเส้นประสาท – บางกรณี โดยเฉพาะเมื่อฟันคุดอยู่ใกล้กับเส้นประสาทที่ควบคุมความรู้สึกของริมฝีปาก ลิ้น หรือคาง อาจเกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการชา หรือ รู้สึกซ่าบริเวณดังกล่าว อาการนี้ส่วนใหญ่มักจะหายได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์หรือเดือน แต่บางกรณีอาจเป็นถาวร
- ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
- เลือดออกมากผิดปกติ — โดยปกติจะมีเลือดออกจากแผลเล็กน้อยหลังการผ่าตัด แต่หากมีเลือดออกมากผิดปกติ ควรรีบแจ้งทันตแพทย์
- อาการบวมและฟกช้ำ – เป็นอาการปกติหลังการผ่าตัด และจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์
- ข้อจำกัดในการเปิดปาก – อาจมีอาการขากรรไกรแข็ง ทำให้เปิดปากได้ยากในช่วงแรกหลังการผ่าตัด
- ไซนัสอักเสบ – ในกรณีที่ฟันคุดบนอยู่ใกล้กับไซนัส อาจทำให้เกิดไซนัสอักเสบได้
- เบ้าฟันแห้ง – เป็นภาวะที่ลิ่มเลือดที่ก่อตัวในเบ้าฟันหลังการถอนฟันหลุดออกไป ทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง
ค่าใช้จ่ายและการประกัน
- ค่าใช้จ่ายโดยประมาณของการรักษาฟันคุด – ค่าใช้จ่ายในการรักษาฟันคุดจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น
- ความซับซ้อนของฟันคุด – ฟันคุดที่ฝังลึก หรือ ขึ้นในลักษณะที่ซับซ้อน จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าฟันคุดที่ขึ้นง่าย
- วิธีการรักษา – การถอนฟันคุดแบบธรรมดาจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการผ่าฟันคุด
- สถานพยาบาล – โรงพยาบาลเอกชนมักมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าคลินิกทันตกรรม หรือ โรงพยาบาลรัฐบาล
- ค่าบริการของทันตแพทย์ – ทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญสูง หรือ มีประสบการณ์มาก อาจมีค่าบริการที่สูงกว่า
- ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม – ค่าเอกซเรย์ ค่าเวชภัณฑ์ และค่ายา
- ค่าใช้จ่ายในการถอนฟันคุดแบบธรรมดา อาจเริ่มต้นที่ประมาณ 1,000-3,000 บาทต่อซี่ ในขณะที่ การผ่าฟันคุด อาจมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 3,000-10,000 บาทต่อซี่ หรือ มากกว่านั้นขึ้นอยู่กับความซับซ้อน
- การใช้สิทธิประกันสุขภาพ – การใช้สิทธิประกันสุขภาพในการรักษาฟันคุดขึ้นอยู่กับประเภทของประกันสุขภาพที่คุณมี
- ประกันสังคม – ผู้ที่มีสิทธิประกันสังคมสามารถเบิกคำถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าฟันคุดได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยปกติจะสามารถเบิกได้ในวงเงินจำกัดต่อปี และอาจต้องสำรองจ่ายก่อนแล้วนำใบเสร็จไปเบิกภายหลัง ควรตรวจสอบสิทธิและเงื่อนไขกับสำนักงานประกันสังคมโดยตรง
- ประกันสุขภาพเอกชน – การเคลมค่ารักษาฟันคุดกับประกันสุขภาพเอกชนจะขึ้นอยู่กับแผนประกันที่คุณซื้อไว้ บางแผนอาจครอบคลุมค่าถอนฟันคุดหรือผ่าฟันคุดทั้งหมดหรือบางส่วน ควรตรวจสอบรายละเอียดความคุ้มครองของแผนประกันของคุณอย่างละเอียด
- สิทธิข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ – ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ รวมถึงการรักษาฟันคุด แต่เงื่อนไขและวงเงินที่เบิกได้อาจแตกต่างกันไป ควรตรวจสอบสิทธิกับหน่วยงานต้นสังกัด
คำถามที่พบบ่อย (FAQ):
- ฟันคุดต้องผ่าทุกคนหรือไม่?
โดยทั่วไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องผ่าฟันคุดทุกคน การตัดสินใจผ่าฟันคุดขึ้นอยู่กับลักษณะของฟันคุดและผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากของแต่ละบุคคล ทันตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินและให้คำแนะนำว่าควรผ่าหรือไม่
- ผ่าฟันคุดเจ็บไหม?
ระหว่างผ่าฟันคุดจะไม่รู้สึกเจ็บ เนื่องจากทันตแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่หรือยานอนหลับ เพื่อให้คุณรู้สึกผ่อนคลายและไม่เจ็บปวด อย่างไรก็ตาม หลังผ่าตัดอาจมีอาการปวด บวม หรือ ตึงบริเวณแผล ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดและประคบเย็น
- ใช้เวลานานแค่ไหนในการผ่าฟันคุด?
ระยะเวลาในการผ่าฟันคุดขึ้นอยู่กับความยากง่ายของฟันคุด โดยทั่วไปจะใช้เวลา ประมาณ 20-45 นาที แต่ในบางกรณีที่ฟันคุดซับซ้อน อาจใช้เวลานานถึง 1-2 ชั่วโมงง
- หลังผ่าฟันคุดต้องดูแลตัวเองอย่างไร?
- กัดผ้าก๊อซแน่น ๆ เพื่อห้ามเลือดประมาณ 1-2 ชั่วโมง
- ประคบเย็น บริเวณแก้มด้านที่ผ่าฟันคุด เพื่อลดอาการบวม
- ทานยาตามที่ทันตแพทย์สั่ง
- ทานอาหารอ่อน ๆ และหลีกเลี่ยงอาหารแข็ง ร้อน หรือ เผ็ด
- บ้วนปากเบา ๆ ด้วยน้ำเกลือหลัง 24 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- สามารถทานอาหารอะไรได้บ้างหลังผ่าฟันคุด?
- อาหารเหลว – โจ๊ก ซุป น้ำผลไม้
- อาหารอ่อน ๆ – ข้าวต้ม ปลา ไข่ตุ๋น
- อาหารที่ไม่ต้องเคี้ยวมาก – โยเกิร์ต ไอศกรีม
- มีวิธีบรรเทาอาการปวดหลังผ่าฟันคุดอย่างไร?
- ทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
- ประคบเย็นบริเวณแก้ม
- บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ
- ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าฟันคุดมีอะไรบ้าง?
- เลือดออกมาก
- อาการปวดและบวม
- การติดเชื้อ
- ขากรรไกรค้าง
- ความเสียหายต่อเส้นประสาท ทำให้ชาบริเวณริมฝีปาก ลิ้น หรือ คาง
- ค่าใช้จ่ายในการผ่าฟันคุดประมาณเท่าไหร่?
ค่าใช้จ่ายในการผ่าฟันคุดขึ้นอยู่กับความยากง่าย โดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 2,500-6,000 บาทต่อซี่
- สามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพในการผ่าฟันคุดได้หรือไม่?
สามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพในการผ่าฟันคุดได้ โดยวงเงินและเงื่อนไขความคุ้มครองจะแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัทประกัน ควรตรวจสอบรายละเอียดกับบริษัทประกันของคุณ
- หากไม่ผ่าฟันคุดจะมีผลเสียอย่างไร?
ฟันผุ เหงือกอักเสบ ปวดฟัน ฟันข้างเคียงเสียหาย เกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก ฟันซ้อนเก รวมถึงมีผลต่อการจัดฟัน